Hydraulic Mechanism (Oil pressure regulator)

Hydraulic Mechanism (Oil pressure regulator)

 

ถูกออกแบบมาเพื่อให้แผ่นไดอะแฟรม และลูกสูบทำงานผสานกันอย่างแม่นยำ ซึ่งการทำงานของกลไกไฮโดรลิคจะไม่เกี่ยวข้องกับห้องเกียร์ รวมไปถึงของเหลวที่ใช้ในการทำงานก็แตกต่างจากน้ำมันในห้องเกียร์ เพื่อยืดอายุการใช้งาน และรักษาประสิทธิภาพ ในกลไกไฮโดรลิคประกอบด้วยวาล์ว 2 ชนิด คือ

 1.กลไกควบคุมปริมาณน้ำมัน ประกอบไปด้วยกลไก 4 ส่วน ดังนี้   (หมายเลขตรงตามรูป) 
หมายเลข 2) น็อตปรับ (วาล์วควบคุมปริมาณน้ำมัน)
หมายเลข 3) สปริงอัดแบบเกลียว
หมายเลข 8) แผ่นซีล
หมายเลข 9) วาล์วควบคุมปริมาณน้ำมัน 
            ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณน้ำมันระหว่างลูกสูบกับแผ่นไดอะแฟรม เพื่อให้การทำงานผสานกัน และแม่นยำเสมอ เมื่อเกิดปัญหาแรงดันเกินกว่าที่กำหนด และกลไกระบายแรงดันทำงานเสร็จสิ้น กลไกควบคุมปริมาณน้ำมันจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำมันกลับลงมาตรงลูกสูบอัตโนมัติ เพื่อเริ่มการทำงานใหม่


2.กลไกระบายแรงดัน ประกอบไปด้วยกลไก 4 ส่วน ดังนี้   (หมายเลขตรงตามรูป)  
หมายเลข 4) น็อตปรับ (วาล์วระบายแรงดัน)
หมายเลข 5) สปริงอัดแบบเกลียว
หมายเลข 7) วาล์วระบายแรงดัน
หมายเลข 8) แผ่นซีล  


           เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นจากท่อทางส่ง เช่น วาล์วปิด, ท่ออุดตัน หรือปัญหาอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดแรงดันสะสมในเส้นท่อย้อนกลับมาที่หัวปั๊ม จนกระทั่งแรงดันเกินกว่าที่วาล์วระบายแรงดันตั้งค่าไว้ วาล์วระบายแรงดันจะเปิดแล้วระบายน้ำมันกลับขึ้นไปเก็บไว้ที่กระบอกน้ำมัน เพื่อลดแรงดันไม่ทำให้ตัวปั๊ม หรือหัวปั๊มเสียหาย เมื่อแรงดันทั้งหมดลดลง กลไกไฮโดรลิคจะเริ่มต้นทำงานใหม่ และปั๊มจะกลับเข้าสู่การทำงานปกติโดยไม่มีอะไรเสียหาย   


 *หมายเหตุ : เหตุผลที่ Tacmina ออกแบบให้ระบบไฮดรอลิคแยกออกจากระบบเกียร์ เพราะกรณีใช้น้ำมันไฮดรอลิค ที่เป็นชุดเดียวกับน้ำมันเครื่องในห้องเกียร์ จะทำให้เกิดการสึกหรอและเสียหายของระบบไฮดรอลิค เพราะภายในห้องเกียร์มีการขัดสีค่อนข้างสูง จึงทำให้มีเศษผงโลหะปะปนเข้ามาในชุดไฮดรอลิคได้

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้